Dhammachai International Research Institute (DIRI) is a supporter for the Gandhari Manuscripts Project (GMP)

Exchange of agreements between Dr. Abdul Azeem, Director General of the Department of Archaeology and Museums (DOAM), Pakistan, and Dr. Mark Allon, University of Sydney.

The Gandhari Manuscripts Project (GMP) was launched in 2019 at the University of Sydney (USYD) in Australia. After parallel agreements were signed, the GMP project officially commenced on December 20, 2022 when an agreement between the Department of Archeology and Museum (DOAM), Pakistan and the University of Sydney (USYD) was signed at the Islamabad Museum. The MoU between the Dhammachai International Research Institute (DIRI) and USYD had been signed earlier on September 28, 2020. DIRI generously provided part funding for the project’s initial phase and promised academic collaboration with the GMP.

The opening of the Islamabad Museum collection, the largest collection of Gandhari manuscripts in existence, was a major breakthrough in Buddhist scholarship. The collection consists of at least 50-60 birch bark scrolls and scroll fragments, which contain Buddhist texts written in the Gandhari language and the Kharosthi script. Radiocarbon dating has revealed that the documents are likely from the 1st century BCE to the 2nd century CE. Preliminary examinations of the manuscripts have uncovered sutras commonly found in both Mainstream Buddhism and those found in Mahayana schools. There are also several manuscripts that could not be compared to any known sutra. This has revitalized the hope of Gandhari researchers in uncovering the truth of early Buddhism.

โครงการ Gandhari Manuscript Project (GMP) ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2562 ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (USYD) ประเทศออสเตรเลีย โดยจะเริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการได้ภายหลังจากที่สัญญาคู่ขนานทุกฉบับได้รับการลงนามอย่างครบถ้วน โดยในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563 ได้มีการลงนามสัญญาระหว่างสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) กับ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (USYD) ซึ่งเป็นสัญญาคู่ขนาน และหลังจากรอเวลามากว่า 2 ปี ในที่สุดก็มีการลงนามสัญญาระหว่างภาควิชาโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ (DOAM) ประเทศปากีสถาน กับ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (USYD) อันเป็นสัญญาหลัก ที่พิพิธภัณฑ์อิสลามาบัด ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา นับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานของ GMP อย่างเป็นทางการ ในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ดังกล่าว สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ไม่เพียงร่วมมอบทุนสนับสนุนการดำเนินงานในระยะแรกของโครงการเท่านั้น แต่ยังมีข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ GMP อีกด้วย

การเริ่มงานของโครงการ GMP นอกจากจะนับเป็นข่าวดีของดีรีซึ่งเป็นหนึ่งในคู่สัญญาแล้ว ยังนับว่าเป็นข่าวดีข่าวหนึ่งสำหรับวงวิชาการทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย เพราะนั่นหมายถึง ประตูแห่งห้องเก็บคัมภีร์คานธารีกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมีชื่อว่า กลุ่มคัมภีร์ของพิพิธภัณฑ์อิสลามาบัด ได้เปิดออกแล้ว คัมภีร์กลุ่มนี้ประกอบด้วยม้วนคัมภีร์เปลือกไม้เบิร์ชอย่างน้อย 50 ถึง 60 ชิ้น และชิ้นส่วนม้วนคัมภีร์ที่มีข้อความทางพระพุทธศาสนา เขียนเป็นภาษาคานธารี โดยใช้อักษรขโรษฐี และจากการตรวจสอบอายุของคัมภีร์เหล่านี้ พบว่าน่าจะอยู่ช่วงระหว่างศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลกับคริสต์ศตวรรษที่ 2

อนึ่ง การสำรวจเนื้อหาคัมภีร์เบื้องต้นยังได้พบสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ มีคัมภีร์ที่เทียบเคียงได้กับคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาท และพระสูตรมหายานมากมายอยู่ปะปนกัน และยังมีคัมภีร์อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่อาจเทียบเคียงกับพระสูตรฝ่ายไหนได้เลยรวมอยู่ด้วย รอคอยการศึกษาโดยละเอียดในภายหลัง การค้นพบคัมภีร์กลุ่มนี้อาจถือได้ว่าเป็นความหวังใหม่ของนักวิชาการด้านคัมภีร์คานธารี ที่จะได้เข้าไปค้นพบความจริงดั้งเดิมของพระพุทธศาสนายุคต้นต่อไป