Meditation in Tham Scripts Manuscripts
สมาธิภาวนาในคัมภีร์อักษรธรรม (Meditation in Tham Scripts Manuscripts)
Research by : Dr Kijchai Urkasam
บทคัดย่อ
โยคาวจรเป็นศัพท์ที่นักวิชาการตะวันตกบัญญัติข้ึน เพื่อความสะดวกในการเรียกพุทธศาสนา ที่ได้รับการนับถือปฏิบัติแพร่หลายในแถบดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนพุทธศตวรรษท่ี 25 (Crosby 2000:141) คัมภีร์พุทธศาสนาอักษรธรรมของโยคาวจรมีมุมมองในทางปฏิบัติสมาธิภาวนา การตีความในคัมภีร์จะใช้ความหมายหรือคำจำกัดความตามท่ีปรากฏในพระบาลีมาเป็นหลักเกณฆ์ไม่ได้ทั้งหมด จึงให้ภาพแตกต่างไปจากที่ทราบกันในวงความรู้เถรวาท
กระบวนการปฏิบัติสมาธิภาวนาของวิชชาธรรมกาย สั่งสอนโดยพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ในครึ่งท้ายพุทธศตวรรตที่ 25 ต่อมาถึงพุทธศตวรรษที่ 26 กล่าวว่าได้รื้อฟื้นการปฏิบัติสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายขึ้นหลังจากการสูญหายไปราวสองพันปี
การศึกษาน้ีให้ผลว่าธรรมกายเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในสังคมชาวพทุธของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 20 ธรรมกายเป็นกายที่ประกอบข้ึนด้วยญาณรู้แจ้งต่างๆ และเป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า การไปสู่นิพพานคือการได้พบพระพุทธเจ้า และจากการศึกษาเปรียบเทียบ (comparative analysis) พบว่าทั้งวิชชาธรรมกายและโยคาวจรมีความสอดคล้องกันในหลักการ (concept) เป็นอย่างมากด้วยมุมมองของสายปฏิบัติหรือ “สายวิปัสสนา” ซึ่งแตกต่างกันบ้างในส่วนรายละเอียด สำหรับการปฏิบัติ(practice) มีความ สอดคล้องกันในเรื่องการใช้บริกรรมนิมิตความสว่าง และคำบริกรรมภาวนา รวมถึงการทำ “หยดุ” แต่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในจุดที่ตั้งของจิตต่างๆภายในร่างกาย ทางเดินของจิต กระบวนการสู่อริยมรรคและอริยผล โดยท่ีวิชชาธรรมกายมีกระบวนการ “ผ่าน” จากกายธรรมหน่ึงไปสู่กายธรรมที่สูงชั้น ธรรมกายจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ส่วนโยคาวจรใช้ ธรรมกายเป็นบริกรรมนิมิตในกรรมฐานพุทธคุณ ความสอดคล้องกันในส่วนของหลักการและความแตกต่างในระดับกระบวนการปฏิบัติน้ี ชี้ให้เห็นว่าหลักการในภาคปฏิบัติ(taskof practice) ทั้งสองฝ่ายมาจากโครงสร้าง (structure) เดียวกัน แต่สืบสายกระบวนการในการ ปฏิบัติไว้ต่างกัน
[3d-flip-book mode=”fullscreen” urlparam=”fb3d-page” id=”9297″ title=”false”]