“ตามรอยพระพุทธศาสนาในอุซเบกิสถาน: วัดฟะยัซเตเป เมืองเตอร์เมซ” เมืองเตอร์เมซ (Termez หรือ Termiz) ประเทศอุซเบกิสถาน (Uzbekistan) ในเอเชียกลาง (Central Asia) เดิมคือดินแดนทางตอนเหนือของแบคเตรีย (Northern Bactria) อันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหม (Silk Road) เส้นทางที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากอินเดียไปยังเอเชียและยุโรปในอดีต แม้ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ในเตอร์เมซจะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวโยงกับพระพุทธศาสนาในยุคต้นก็ยังคงอยู่ ดังที่มีการค้นพบหลักฐานโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในเขตแอร์แตม (Airtam) กะระเตเป (kara-tepe) ดัลเวอร์ซินเตเป (Dalverzin-tepe) ซูร์มะระ (Zurmara) และฟะยัซเตเป …
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ยินสื่อมวลชนบางสำนัก นำเสนอข่าว พิธีกรรมที่ครูบาบุญชุ่ม ท่านประกอบท่าทางการทำมือ เพื่อช่วยเหลือให้น้องๆทีมหมูป่าออกมาจากถ้ำ สำหรับนักประวัติศาสตร์พุทธศาสนา อาจจะคุ้นเคยสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างดี เพราะพิธีกรรมนี้ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในสาย “โบราณกรรมฐาน” ที่เคยปฏิบัติกันมาเป็นพันปี โดยสืบทอดต่อกันมาในสายปฏิบัติแบบเร้นลับ ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า Esoteric Southern Buddhism หรือ Tantric Theravada อันมีพระอุปคุต พระผู้ปราบมารในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นต้นกำเนิดแนวทางสายโบราณกรรมฐานนี้ด้วย การค้นพบคัมภีร์โบราณจากถ้ำตุนหวงที่มีอายุราวพันปี ได้ยืนยันความเก่าแก่ของท่าทางการทำ “มุทราสรณคมน์” ที่ครูบาบุญชุ่มได้ปฏิบัติเป็นอย่างดี เพราะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอย่างมาก ซึ่งท่ามุทรามีความหมายการให้ไตรสรณคมน์ ซึ่งจะช่วยปรกโปรดให้บุคคลพ้นความกลัวในภยันตรายได้ บางท่านอาจจะสงสัยว่า เหตุใดลักษณะการประกอบพิธีกรรมบางอย่าง เช่นการเป่าสังข์ การเดาะกลอง การทำมือแบบมุทธา …
HIGHLIGHTS: – The Dhammakāya gāthā is written in the symbolized heart of a statue, and it is then placed inside the statue in order to enliven it – The Buddha image consecration …
พระอุปคุต เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา เรื่องราวของท่านนั้นไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลี อย่างไรก็ดีเรื่องราวของท่านปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาประเภทตำนานในหลายๆ ภาษาทั่วทั้งทวีปเอเชีย เช่น ทิพยาวทาน (Divyāvadāna), อวทานศตกะ (Avadānaśatka), อโศกราชาวทาน (Aśokarājāvadāna), อโศกราชสูตร (Aśokarājasūtra), สังยุกตาคมะ (Saṃyuktāgama), มูลสรรวาสติวาทวินัย (Mūlasarvāstivāda Vinaya), สัททนีติ (Saddanīti), โลกบัญญัติ (Lokapaññatti), และ ปฐมสมโพธิ (Paṭhamasambodhi) เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องราวของท่านยังปรากฏอยู่ในรูปแบบตำนานเรื่องเล่าและพิธีกรรม งานวิชาการทางด้านประวัติชีวิตและตำนานของพระอุปคุตนั้นได้รับการศึกษาอย่างละเอียดโดยศาสตราจารย์จอห์น สตรอง …
HIGHLIGHTS: – ทำไมภาษาบาลีถึงสำคัญ – ภาษาบาลีมีที่มาอย่างไร – ทำไมพบ “ธรรมกาย” อยู่ในพระไตรปิฎกไทย และเขมร สืบเนื่องจากภาษาบาลีเป็นตันติภาษามีความมั่นคงและมีระเบียบแบบแผน ในการธำรงรักษาความหมายดั้งเดิมของพระพุทธธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา รุ่นสู่รุ่น สืบเนื่องต่อกันมาในรูปแบบของการทรงจำกล่าว บอก พระไตรปิฏกเพื่อเห็นความสำคัญในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงคำว่า ธรรมกาย ไว้ จึงได้มีพิธีการอัญเชิญคำว่า ธรรมกาย ในพระไตรปิฏกฉบับบาลีสยามรัฐ มาประดิษฐานไว้ที่หน้ามุขพระอุโบสถวัดพระธรรมกาย เพื่อให้ชาวโลกได้เห็นความสำคัญของคำว่า ธรรมกาย ที่จารึกบันทึกสืบกันมายาวนาน จากประเทศอินเดีย ศรีลังกา และอัญเชิญมาสู่สยามการบันทึกแบบแปลทับศัพท์บาลีนั้นคือ ไม่มีการตีความ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่นิยมเพื่อรักษาและอมความหมายของวาระพระบาลีไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงดังนั้นพระบาลี …
HIGHLIGHTS: – พระพุทธรูปนาคปรกในประเทศไทย – ที่มาของพระพุทธรูปนาคปรก – สัญญลักษณ์ของการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน พระพุทธรูปนาคปรกในประเทศไทยมักเป็นที่รู้จักคุ้นเคยว่าเป็นพระพุทธรูปปางมุจลินท์ ที่แสดงเรื่องราวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะเสวยวิมุติสุขหลังการตรัสรู้ ตามที่ปรากฏในมุจลินทสูตร ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้มุจลินท์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด 7 วัน สมัยนั้น อกาลเมฆใหญ่บังเกิดขึ้นแล้ว ฝนตกพรำตลอด 7วัน มีลมหนาวประทุษร้าย ครั้งนั้นแล พระยามุจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน มาวงรอบพระกายของพระผู้มีพระภาคด้วยขนดหาง 7 รอบ แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนพระเศียรด้วยตั้งใจว่า ความหนาวอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ความร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง …
“ร่องรอยหลักฐานการเห็นพระภายใน” วัดนาริตะซัน ชินโชจิ หรือ Naritasan Shinshoji Temple (成田山新勝寺) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.1,483 เป็นวัดขนาดใหญ่และมีความเก่าแก่กว่าพันปีซึ่งตั้งอยู่ในเมืองนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นอีกสถานที่ ที่มีการยืนยันเกี่ยวข้องกับประติมากรรมพระภายในตัว
คัมภีร์ปรัชญาปารมีตาจารึกด้วยทองคำเป็นอักษร รัญชนะลิปีหรืออักษรเนวา อายุ800-900ปี ได้เก็บรักษาไว้ในวัดหิรัญวรรณวรมหาวิหาร โดยชาวพุทธวัชรญาณซึ่งล้วนแล้วคือตระกูลศากยะวงศ์ ตระกูลศากยะวงศ์นี้ได้หมุนเวียนกันมาดูแลวัดดูแลคัมภีร์ครอบครัวละ1เดือน มาสวดมนต์บทปรัชญาปารมีตา กันทุกวัน แม้ในยามสงครามทำลายพระพุทธศาสนาออกจากประเทศเนปาล ก็ยังสามารถรักษาคัมภีร์นี้ไว้ได้ด้วยกลอุบายต่าง เพื่อความอยู่รอดของคัมภีร์และโบราณวัตถุต่างภายในวัด ซึ่งทำให้ทุกคนเห็นได้ว่า ในแต่ละประเทศแต่ละภูมิภาคต้องเอาตัวรอดและปกป้องรักษาหลักฐานต่างๆที่บรรพบุรุษได้สร้างอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
HIGHLIGHTS: A question which motivates much of the modern scholarly study of Buddhism, whether stated explicitly or left implicit, is: “How do we know, in an academic, historical sense, what …